วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 4

ระบบข้อมูลของสถานศึกษา
1.บริบทของสถานศึกษา  สภาพความเป็นอยู่  จุดเด่น  จุดด้อย  โอกาสที่จะพัฒนา
บริบทของสถานศึกษา 
โรงเรียนวัดหลักช้าง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  เดิมมีชื่อว่าโรงเรียนช้างกลาง 1 เป็นโรงเรียนที่ก่อตั้งเป็นโรงเรียนแรกของอำเภอช้างกลาง  ประกาศจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2466  ปัจจุบันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2  ตั้งอยู่ในชุมชนหลักช้าง  หมู่ที่  6  ตำบลหลักช้าง  อำเภอช้างกลาง   จังหวัดนครศรีธรรมราช   มีเนื้อที่ประมาณ  27  ไร่  ทิศเหนือจดกับหนองน้ำแม่เคง  ทิศใต้จดกับวัดหลักช้าง  ทิศตะวันตกจดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4019  ทิศตะวันออกจดกับที่ดินส่วนบุคคล 
ปัจจุบันโรงเรียนวัดหลักช้างผู้อำนวยการโรงเรียนชื่อนายสุนันท์   สงกรด  ทำการเปิดสอน 3 ระดับ  คือ  ระดับอนุบาล  ระดับประถมศึกษา  และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  รวม  11  ห้องเรียน  มีบุคลากรครู  14  คน  ผู้ชาย  5 คน  ผู้หญิง  9  คน  นักการภารโรง  1  คน  นักเรียนทั้งหมด  129  คน  เป็นนักเรียนชาย  63  คน  เป็นนักเรียนหญิง  69  คน  
สภาพความเป็นอยู่  คนในชุมชนร้อยละ  95  ประกอบอาชีพที่สวนยางพารา  ร้อยละ  2  ประกอบอาชะรับราชการ  และร้อยละ  3  ประกอบอาชีพรับจ้าง  นักเรียนประมาณร้อยละ  95  เป็นคนในท้องถิ่น  และอีกประมาณร้อยละ  5  ที่ย้ายติดตามผู้ปกครอง  ผู้ปกครองมีรายได้เพียงพอสำหรับส่งเสียบุตรหลานของตนเอง  โรงเรียนมีอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนทุกคน
 จุดเด่น 
1. นักเรียนมีน้อย  อัตรา  ครู:นักเรียน  1:9 ครูสามารถดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง
2. นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมได้อย่างเต็มที่
3. ครูมีความรู้ความสามารถที่หลากหลาย  และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง
4. ครูผู้สอนมีความสนิทกับชุมชนและผู้ปกครอง  จึงสามารถจัดกิจกรรมได้สะดวกเหมาะสมกับนักเรียนแต่ละบุคคล
5. ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา  ชุมชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือกับการบริหารการศึกษาของโรงเรียนเป็นอย่างดี
จุดด้อย
1. นักเรียนขาดสุขนิสัยที่ดีต่อการดูแลสุขภาพของตนเอง
2. นักเรียนใช้จ่ายในทางที่ไม่เหมาะสม  เช่น  เล่นเกม  เที่ยวเตร่  เลนการพนัน
3. นักเรียนไม่มีความใฝ่รู้  ไม่รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5. นักเรียนไม่รู้จักการทำงานเป็นทีม  การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
6. ครูมีภาระงานอื่น ๆ มากมาย  มีเวลาในการเตรียมการสอนน้อย
7. ครูขาดความตระหนักในการปลูกฝังด้านวินัย  คุณธรรม  จริยธรรมสำหรับเด็ก
8. ปริมาณสื่อที่ใช้บริการผู้เรียนใช้เป็นแหล่งเรียนรู้มีค่อนข้างน้อย
9. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไม่ค่อยได้ดำเนินการอย่างจริงจัง
10. ครูมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อ  เทคโนโลยี  ค่อนข้างน้อย
               
โอกาสที่จะพัฒนา
เนื่องจากชุมชนกับโรงเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตลอดมา  ดังนั้นสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน  การพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เกิดประสิทธิผลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการพัฒนาบูรณาการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน  ส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรมและงานอาชีพ
2.  ระบบข้อมูลสถานศึกษา  มีการจัดทำสารสนเทศของโรงเรียน โดยงานแผนงานและสารสนเทศโรงเรียน  ร่วมกับแผนงานฝ่ายแต่ละฝ่ายเป็นผู้จัดทำและจัดเก็บข้อมูลสถานศึกษา  ภาคเรียนละ  1  ครั้ง    ข้าพเจ้าคิดว่ามีสภาพที่ดีมีระบบ  แต่ควรที่จะพัฒนาให้การสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแต่ละฝ่ายเพื่อค้นข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
ข้อมูลนักเรียน  มีการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล   เป็นห้องเรียน โดยครูประจำชั้น สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวของนักเรียนได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว  เก็บข้อมูลของนักเรียนไว้ชั้น  ข้าพเจ้าคิดว่ามีสภาพที่ดีมีระบบ 
ข้อมูลบุคลากร  มีการจัดเก็บข้อมูลบุคลากรเป็นแฟ้มรายบุคคลโดยมีฝ่ายบุคลากรเป็นผู้รับผิดชอบ  ข้าพเจ้าคิดว่าควรมีการปรับปรุงโดยการจัดเก็บข้อมูลของบุคลการเป็นรายบุคคลในรูปของไฟล์ข้อมูล  มีการจัดเก็บให้เป็นระบบมากกว่าเดิม  แยกบุคลากรเป็นฝ่ายงานพร้อมรูปภาพ  ประวัติ  และต้องมีการสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูลได้สะดวกขึ้น
ข้อมูลงานทะเบียนนักเรียน  มีการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล  มีการแยกเก็บเป็นปีการศึกษา  มีประวัติของนักเรียน  ประกอบด้วยเลขประจำตัวนักเรียน  ชื่อ-นามสกุล  วันเดือนปีเกิด  ที่อยู่  ชื่อพ่อ  แม่ อาชีพผู้ปครอง ข้าพเจ้าคิดว่ามีความเป็นระบบสามารถสืบค้นได้ง่ายและสะดวกแต่ควรติดเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแต่ละฝ่ายเพื่อความสะดวกในการสืบค้นของแต่ละฝ่าย
ข้อมูลงานวิชาการและข้อมูลแต่ละฝ่าย  มีการจัดเก็บข้อมูลแต่ละฝ่ายอย่างเป็นระบบ  ผู้ที่ต้องการข้อมูลสามารถเข้าไปสืบหาข้อมูลได้  ข้าพเจ้าคิดว่า  ระบบข้อมูลที่มีอยู่มีสภาพที่ดี  แต่ควรได้รับการพัฒนาให้ดีกว่าปัจจุบันโดยการสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของแต่ละฝ่ายแล้วนำข้อมูลที่มีอยู่ไปจัดเก็บไว้หากฝ่ายใดต้องการข้อมูลก็สามารถเปิดดูได้โดยทันที 
3.  ระบบนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
-   จัดทำสื่อการสอนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง  การแปลงทางเรขาคณิต  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
-   ใช้สื่อการสอนที่ผลิตโดยโปรแกรม  GSP 
-   เป็นสื่อที่เหมาะสำหรับนักเรียน  เนื่องจากเรื่องการแปลงทางเรขาคณิตเป็นเรื่องที่นักเรียนต้องสร้างจิตภาพให้กับตัวเอง  นักเรียนเข้าใจได้ยาก  ครูต้องใช้เวลาในการสอนมาก  แต่เมื่อสอนด้วยโปรแกรม  GSP  แล้วนักเรียนสามารถเข้าใจได้เร็วขึ้น

กิจกรรมที่ 3

โปรแกรม  SPSS
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS
              SPSS โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows (Statistic Package for Social Sciences for Windows)เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยและเป็นโปรแกรมที่จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ การทำงานแต่ละอย่างใช้เพียงแต่ใช้เมาส์ชี้คำสั่งต่างๆ ตามต้องการ แล้วคลิกเมาส์เท่านั้น
การเข้าสู่การทำงานของโปรแกรม SPSS ให้คลิก Icon SPSS ที่ Desktop หรือที่ Start เลือก All Program คลิกที่ Program SPSS ก็จะปรากฏหน้าต่างของ SPSS
1.  SPSS มีแถบเมนู Data View และVariable View
2.  การสร้างแฟ้มข้อมูล
     o  การสร้างแฟ้มข้อมูล คือ การบันทึกข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ลงในโปรแกรม SPSS
     o  Data View
     o  Variable View
          การสร้างแฟ้มข้อมูลมีขั้นตอน ดังนี้  SPSS  Data  Editor  Variable View  จะปรากฏวินโดวส์ของ Variable View  ดังนี้
ขั้นที่ 1  การตั้งค่าต่างๆ ลงใน Variable View โดยมีเมนูย่อย ดังนี้
             1. Name  ใช้สำหรับตั้งชื่อตัวแปร เช่น เพศ
             2. Type  ใช้สำหรับกำหนดชนิดของตัวแปร
             3. Numeric  เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข
             4. Comma  เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และโปรแกรม จะใส่เครื่องหมาย Comma Dot เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และมีเครื่องหมาย “ , ” หนึ่งครั้งสำหรับคั่นทศนิยม  และโปรแกรม SPSS  จะใส่เครื่องหมาย . คั่นเลขหลักพัน Scientific Notation  เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข  และสัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์  เช่น 22 E-2. Date  เป็นตัวแปรชนิดวันที่คือ  ข้อมูลอยู่ในรูป วัน เดือน ปี  Dollar เป็นตัวแปรที่มีเครื่องหมาย $ มีจุด 1 จุด สำหรับทศนิยม  มีเครื่องหมาย “ , ”  สำหรับคั่นเลขหลักพัน  Custom Currency  สกุลเงินที่ผู้ใช้กำหนดเอง  String  เป็นตัวแปรที่มีค่าเป็นตัวอักษร ( ข้อความ )
             5. Width  คือ  ความกว้างของข้อมูลโดยรวมจุดและจำนวนหลักหลังจุดทศนิยมด้วย สามารถกำหนดความกว้างของข้อมูลได้สูงสุด 40 หลัก
            6. Decimals คือ  จำนวนหลักหลังจุดทศนิยม กำหนดทศนิยมได้สูงสุด 10 หลัก
            7. Label เป็นส่วนที่ใช้อธิบายความหมายชื่อตัวแปร เนื่องจากการกำหนดชื่อตัวแปรที่  Name กำหนดได้เพียง 8 ตัวอักษรเพื่อประโยชน์ตอนแสดงผลลัพธ์
            8. Values กรณีที่ข้อมูลเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ต้องกำหนดค่าตัวเลข (Value) และ Value Label เพื่ออธิบายความหมายที่แท้จริงของตัวเลขนั้น เช่น คำถามเกี่ยวกับ เพศ ( เป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ) มีคำตอบให้เลือก ดังนี้ เพศชาย เพศหญิง ถ้าผู้ตอบคำถามเป็น เพศชาย กำหนดให้เพศชายมีค่าเป็น 1 ดังนั้น Value จะใส่ 1 Value Label จะใส่ ชาย ถ้าผู้ตอบคำถามเป็น เพศหญิง กำหนดให้เพศหญิงมีค่าเป็น 2 ดังนั้น Value จะใส่ 2 Value Label จะใส่ หญิง
          9. Missing  เป็นการกำหนดค่าที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ผู้วิจัยเลือก Discrete Missing Values แล้วพิมพ์ตัวเลขลง ใช้แทนความหมายบางค่าที่ไม่สมบูรณ์ เช่น 9, 99, 999 คำถามเกี่ยวกับเพศ มีคำตอบให้เลือกดังนี้ เพศชาย เพศหญิง โดยผู้วิจัยจะกำหนดค่าที่เป็นไปไม่ได้สูงสุดของตัวแปรนั้นมาเป็นรหัส คือ 9
        10. Columns เป็นการกำหนดความกว้างของ  Column Align  เป็นการกำหนดให้ค่าของข้อมูลแสดงชิดซ้าย ขวา หรือกลาง
        11. Measure การกำหนดลักษณะข้อมูลว่าเป็น Scale, Ordinal หรือ Nominal Scale คือ ข้อมูลที่ใช้วัด Ordinal คือ เลขแสดงลำดับ Nominal คือ ข้อมูลนามบัญญัติ
ขั้นที่ 2  เมื่อผู้วิจัยกำหนด Variable View  เรียบร้อยแล้วให้กลับมาที่ View  เพื่อพิมพ์ค่าของข้อมูลต่างๆ 
             หมายเหตุ : บันทึกแฟ้มข้อมูลทุกครั้งด้วย®Data  File Save
             การวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อผู้ทำการวิจัยจัดการกับข้อมูลเสร็จแล้ว จะวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละด้าน ก็ให้คลิกที่แถบคำสั่ง Transform เลือก compute แล้วดำเนินการจัดการกับข้อมูลตามแบบสอบถาม แต่ละด้าน แล้วเลือก OK ก็จะได้ทราบค่าสถิติเบื้องต้น

ขั้นตอนการใช้โปรแกรม  SPSS
1.  เปิดโปรแกรม  SPSS
2.  ดูมุมซ้ายมือจะมีหน้ากระดาษ  2  หน้า  หน้า  1  data  view  หน้า  2  variable view 
3.  ให้กดหน้า  2  variable view 
4.  กำหนดค่าในหน้า variable view  ช่อง  name   พิมพ์ 
     เพศ,a1,a2,a3,a4,b1,b2,b3,b4,c1,c2,c3,c4,d1,d2,d3  เรียงจากบนลงล่าง  โดย 
-  a  แทนแบบประเมินด้านที่
- b  แทนแบบประเมินด้านที่  2 
                   - c  แทนแบบประเมินด้านที่  3  และ 
- d  แทนแบบประเมินด้านที่  4
-  ช่องwidth   พิมพ์ตัวเลขความกว้างที่ต้องการ
-  ช่องdeimalsเลือกจุดทศนิยมที่ต้องการ (0,1,2)
-  ช่องvalue   ใส่ค่าโดยคลิกขวา  แถวเพศ  ในช่อง  value  พิมพ์  1ชาย  2หญิง  ส่วนแถว a1,a2....,d3  ในช่อง  value  ใส่ 1-น้อยที่สุด 2-น้อย 3-ปานกลาง 4-มาก 5-มากที่สุด
5.  หลังจากนั้นกลับมากดหน้า  1  data view   ข้อมูลที่พิมพ์ จากหน้า variable view  เพศ,a1,a2,a3,a4,b1,b2,b3,b4,c1,c2,c3,c4,d1,d2,d3  จะมาปรากฎ  บนหัวกระดาษโดยเรียงจากซ้ายไปขวา
6.  พิมพ์ข้อมูลใส่ใน data view โดยกรอกข้อมูลเป็นรายบุคคลที่ละข้อจนครบทุกข้อ  แล้วจึงกรอกข้อมูลคนที่  2,3,4  จนครบ  20  คน  โดย
          - 
ช่อง  เพศ  หากผู้ประเมินเป็นเพศชาย  พิมพ์  1  เพศหญิง  พิมพ์  2  
          -  ช่อง  a1  หากผู้ประเมินตอบคำถามอยู่ในระดับปานกลาง  ให้พิมพ์เลข  3 
          -  ช่อง  a2  หากผู้ประเมินตอบคำถามอยู่ในระดับมาก  ให้พิมพ์เลข  4  จนถึง  d4  ตามลำดับข้อมูล
ที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมด(20 คน)
7.  การวิเคราะห์ข้อมูล
     -  กดที่  transform  เลือก  compute  variable  -  พิมพ์หัวข้อ taใน target variable  เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [a1,a2,a3,a4]/4 คลิก ok
     -  กดที่  transform  เลือก compute  variable  -  พิมพ์หัวข้อ tbใน target variable เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [b1,b2,b3,b4]/4 คลิก ok
     -  กดที่  transform  เลือก  compute  variable  -  พิมพ์หัวข้อ tcใน target variable  เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [c1,c2,c3,c4]/4 คลิก ok
     -  กดที่  transform  เลือก  compute variable   -  พิมพ์หัวข้อ tdใน target variable  เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [d1,d2,d3]/3 คลิก ok
     -  กดที่ analyze  เลือก  descriptive statistic เลือก  frequencies เลือกหัวข้อเพศ,a1,a2,...d3 แล้วคลิก ok
 แสดงประมวลผล
8.  ค่าร้อยละใช้กับ  เพศ  ตำแหน่ง  เงินเดือน  เป็นต้น 
9.  ค่าเฉลี่ย  ใช้กับ  ข้อคิดเห็นแต่ละข้อ

ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS - การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น
- การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
- ค่าเฉลี่ย (Mean)
- ฐานนิยม (Mode)
- มัธยฐาน (Median)
- การวิเคราะห์การกระจายของข้อมูล
- พิสัย (Range)
- ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (Quartile Deviation)
- ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Average Deviation)
- ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
- สัมประสิทธิ์การแปรผัน (Coefficient of Variation)